บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2023

HIV

  HIV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า CD4 (ซีดีโฟร์) ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น รวมทั้งมะเร็งบางชนิดได้มากกว่าคนปกติ ซึ่งอาการอาจจะรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป และอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ที่ยังมีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ดีพอสมควร เราจะเรียกว่า “ผู้ติดเชื้อ HIV” และผู้ที่ติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำลง  จนกระทั่งมีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสเราจะเรียกว่า “ผู้ป่วยเอดส์” เมื่อป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสแล้ว ต้องรับการรักษา รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดเป็นซ้ำ จนกว่าระดับภูมิคุ้มกันโรคหรือ CD4 จะสูงขึ้นเพียงพอที่จะป้องกันร่างกายจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและเพียงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อ HIV ได้ในระดับหนึ่งด้วยภูมิของร่างกายเอง  เชื้อ HIV สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสเลือด  

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

  โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่เร่งรีบของคนในยุคนี้ ทำให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โดยพบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่มักมีอาการเป็นๆ หายๆ มากถึง 80% แม้ว่าโรคกระเพาะอาหารอักเสบจะไม่ใช่โรคที่รุนแรง แต่ผู้ป่วยก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะว่าหากปล่อยไว้เรื้อรังอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดไหลในกระเพาะอาหาร จนเกิดภาวะแทรกซ้อน อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย!!! สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบยังไม่ทราบได้อย่างชัดเจน แต่พบว่าส่วนใหญ่มักมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียนเอชไพโลไร (H.pylori) การรับประทานยากลุ่มยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น สาเหตุอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น นอกจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้ว ยังพบว่าพฤติกรรมต่างๆ ในการใช้ชีวิตก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอัก

“โรคแพนิค” (Panic Disorder)

  “โรคแพนิค” (Panic Disorder) หรือโรคตื่นตระหนก   เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ โดยระบบประสาทนี้เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน จึงทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียน ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันแม้ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก ไม่กล้าออกไปไหน หมกมุ่นเรื่องสุขภาพ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน “โรคแพนิค” อาการเป็นอย่างไร? ใจสั่น แน่นหน้าอก หัวใจเต้นแรง  หายใจหอบ หายใจถี่ เหงื่อออกมาก เหงื่อแตก ตัวสั่น ปั่นป่วนในท้อง วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม หวาดกลัว รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง  มือสั่น เท้าสั่น ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคแพนิค อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า “อะมิกดาลา” (Amygdala) ทำงานผิดปกติ กรรมพันธุ์ คนที่มีญาติหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคแพนิค มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป การใช้สารเสพติด ความผิดปกติของฮอร์โมน อาจทำให้สารเตมีในสมองเสียสมดุลได้ มีประสบการณ์ เ

โรคเบาหวาน (Diabetes)

  โรคเบาหวาน (Diabetes)                                                                                                                                                            โรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวาน  (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินสุลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินสุลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินสุลิน) จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึ งระดับหนึ่ง จนทำให้ไ

การทำเด็กหลอดแก้ว

  การทำเด็กหลอดแก้วเหมาะกับคู่สมรสที่มีปัจจัยส่งผลให้มีบุตรยาก ได้แก่ ฝ่ายหญิงมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน, เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่, ท่อนำไข่อุดตันหรือถูกทำลาย, มีภาวะไม่ตกไข่หรือไข่ตกช้าเนื่องจากภาวะหรือโรคบางอย่างที่ทำให้ระบบฮอร์โมนผิดปกติไป และฝ่ายชายมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของอสุจิ ได้แก่ จำนวนน้อย รูปร่างผิดปกติ เคลื่อนที่ไม่ดี เป็นต้น ก่อนการทำเด็กหลอดแก้ว • คู่สมรสควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ นอนให้มีคุณภาพ คือเข้านอนตั้งแต่ 4 ทุ่ม และควรนอนอย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมง ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มผัก และผลไม้ หากสูบบุหรี่ หรือดื่มสุราควรงด • คู่สมรสจะได้รับคำอธิบายให้เข้าใจถึงขั้นตอนการทำ อัตราความสำเร็จ และความเสี่ยงของการทำเด็กหลอดแก้ว หากไม่เข้าใจควรสอบถามแพทย์เพิ่มเติมก่อนเริ่มกระบวนการรักษาต่อไป ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว 1. การกระตุ้นไข่  เริ่มจากการพบแพทย์ ตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน และทำอัลตร้าซาวด์ พร้อมกับฉีดฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน จากนั้นแพทย์จะนัดอัลตร้าซาวด์เพื่อดูการเจริญเติบโตของไข่ และตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเป็นระยะ โดยจะใช้เวลาในขั้นตอนน

อิ๊กซี่ หรือ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)

“อิ๊กซี่” หรือ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection)   เป็นการช่วยปฎิสนธิโดยวิธีฉีดอสุจิ 1 ตัวเข้าไปในเซลล์ไข่ ช่วยเพิ่มอัตราการปฎิสนธิและโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ขั้นตอนเริ่มจากการฉีดยากระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2 ของรอบเดือน โดยฉีดยาทุกวันประมาณ 9-12 วัน ในระหว่างนั้นจะมีการนัดทำอัลตร้าซาวด์ 2-3 ครั้ง เมื่อฟองไข่โตได้ที่แล้ว จะทำการเจาะดูดไข่ออกมาทางช่องคลอด (ทำในห้องผ่าตัด ไม่ต้องค้างคืนที่โรงพยาบาล) ฝ่ายสามีจะให้เก็บอสุจิออกมาในวันเดียวกัน จากนั้น Embryologist จะทำขบวนการ ICSI ในห้อปฎิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน เมื่อไข่และอสุจิปฎิสนธิกันก็จะเกิดเป็นตัวอ่อน (Embryo) ขึ้นมา การทำ ICSI เหมาะกับใคร? คู่สมรสที่ฝ่ายชายมีปัญหาปริมาณอสุจิค่อนข้างน้อย อสุจิไม่สมบูรณ์ และอ่อนแอมากๆ คู่สมรสฝ่ายชายเป็นหมัน หรือทำหมันแล้วแต่อยากมีลูกอีก แต่ยังคงสามารถนำสเปิร์มออกมาได้โดยการผ่าตัด คู่สมรสฝ่ายหญิงมีเปลือกไข่หนา สเปิร์มไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกไข่เพื่อเข้าไปปฏิสนธิได้ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่การทำเด็กหลอดแก้วธรรมดาไม่ได้ผล ข้อดีของการทำ ICSI ช่วย เพิ่มโอกาสให้เกิดการตั้งครรภ์ สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีภาวะม